วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

เทคโนโลยีเว็บ

เทคโนโลยีเว็บไซต์



การนำเสนอข้อมูลในระบบ WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทิม เบอร์เนอร์ ลี นักวิศวกรรมซอฟต์แวร์ จาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (EuropeanParticle Physics Labs) หรือที่รู้จักกันในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มีการพัฒนาภาษา ที่ใช้สนับสนุน การเผยแพร่เอกสาร ของนักวิจัย หรือเอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTML (HyperText Markup Language)
การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและ เทคนิคการนำเสนอที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ ที่ได้รับความนิยมสูงสุด ของระบบอินเทอร์เน็ต
ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บไซต์
ตลอดจนสามารถ เชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า HyperText หรือข้อความที่มีความสามารถมากกว่า ข้อความปกตินั่นเอง จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเอง
ด้วยความสามารถดังกล่าวข้างต้น จึงมีผู้ให้คำนิยาม Web ไว้ดังนี้
"World Wide Web as a global, interactive, cross-platform, distributed, graphical hypertext information system that runs over the Internet."

The Web is a Graphical Hypertext Information System.
การนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บ เป็นการนำเสนอด้วยข้อมูลที่สามารถเรียกหรือโยงไปยังจุดอื่นๆ ในระบบกราฟิก ซึ่งทำให้ข้อมูลนั้นๆ มีจุดดึงดูดให้น่าเรียกดู

The Web is interactive.
การทำงานบนเว็บเป็นการทำงานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นเว็บจึงเป็นระบบ Interactive ในตัวมันเอง เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดโปรแกรมดูผลเว็บ (Browser) พิมพ์ชื่อเรียกเว็บ (URL : Uniform Resource Locator) เมื่อเอกสารเว็บแสดงผลผ่าน เบราเซอร์ ผู้ใช้ก็สามารถคลิกเลือกรายการ หรือข้อมูลที่สนใจ อันเป็นการทำงานแบบโต้ตอบไปในตัวนั่นเอง

The Web is Cross-Platform.
ข้อมูลบนเว็บไม่ยึดติดกับระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) เนื่องจากเป็นข้อมูลนั้นๆ ถูกจัดเก็บเป็น Text File ดังนั้นไม่ว่าจะถูกเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ OS เป็น Unix หรือ Windows NT ก็สามารถเรียกดูจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ OS ต่างจากคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายได้

The Web is Distributed.
ข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีปริมาณมากจากทั่วโลก และผู้ใช้จากทุกแห่งหนที่สามารถต่อเข้าระบบอินเทอร์-เน็ตได้ ก็สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา ดังนั้นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตจึงสามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้างไกล
เมื่อเว็บเพจเป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูลที่ได้รับความสนใจมาก การเรียนรู้เทคโนโลยีด้านนี้ เพื่อนำมาพัฒนาเว็บเพจด้วยตนเอง จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยอาศัยภาษาคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า HTML และสามารถดูเว็บที่พัฒนาแล้ว ด้วยโปรแกรมเบราเซอร์ (Web Browser)


ยุคของเว็บ

เว็บ 1.0 เป็นเว็บที่นำเสนอเพียงข้อมูลที่ผู้สร้างต้องการจะนำเสนอ หากผู้ใช้อยากรู้อะไรก็คลิกเข้าไปดู การค้นหาเว็บไซต์ใหม่ๆ ของผู้ใช้อาศัยการกด Link ไปยังเว็บอื่นๆ ตามที่มีคนสร้างมีการแลกลิงก์กันระหว่างเว็บ ไม่มีการแสดงความคิดเห็นบนเว็บไซต์มาก
เว็บ 1.5 รูปแบบของเว็บไซต์ได้พัฒนาขึ้นมาก มีการสร้างระบบกระทู้ให้ผู้เข้าใช้บริการได้แสดงความคิดเห็นของตัวเองขึ้นมา และเว็บไซต์สามารถนำข้อมูลภาพเคลื่อนไหวและเสียงสดๆ ขึ้นบนหน้าเว็บได้
เว็บ 2.0 จะมีลักษณะเรียกว่าเป็นชุมชน มีความสามารถในการแบ่งปันข้อมูล (Share file) ร่วมกันรวมถึงพูดคุยโต้ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันมากขึ้น ตลอดจนคนเผยแพร่ข้อมูลไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของเว็บ อย่าง วิกิพีเดีย (Wikipedia) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้เขียนบทความเข้าไปอย่างอิสระและมีการตรวจสอบกันเอง รวมทั้งการเกิดเว็บ blog ด้วยเว็บ 3.0 ที่มีความฉลาดล้ำหน้าไปอย่างมาก เป็นการใช้ข้อมูลอธิบายข้อมูล ( Semantic) ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent)
และความฉลาดของมันนี่เองจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และท้าทายเหล่าคนทำเว็บและผู้ใช้
เว็บ 3.0 เป็นแนวคิดที่ได้มาจากเว็บ 2.0 ที่เกิดขึ้นมากมาย ให้เว็บนั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากได้โดยเอาข้อมูลต่างๆที่มีอยู่มาจัดให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่สามารถบอกรายละเอียดได้ ทำให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเขัาถึงเนื้องหาของเว็บได้ดีขึ้นนั้นเอง
สมัยก่อนคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจว่าแต่ละเว็บคืออะไร เวลาไปค้นหาข้อมูล (Search) ก็ไม่รู้ แต่เว็บ 3.0 จะเป็นการเติมและเพิ่มความหมายเข้าไปในเนื้อหาสาระที่คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจในตอนแรกให้เข้าใจมากขึ้น จนสามารถจะเข้าใจในสิ่งที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาด้วย text ธรรมดา การค้นหาภาพ (Image Search) รวมถึงความสามารถในการค้นหาข้อมูลที่เป็นข้อมูลต่อเนื่อง (Stream line) เช่นคลิป เพลง วีดีโอ ซึ่งเป็นความอัจฉริยะของเว็บยุค 3.0 และ การจะทำให้เว็บไซต์เข้าใจข้อมูลทุกๆ ชิ้นที่อยู่ใน"เวิลด์ ไวด์ เว็บ" (www – world wide web) และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้นซึ่งกันและกันได้ จะต้องมีคลังข้อมูลอย่างมหาศาล หรือมี Pattern Recognition จนสุดท้ายเข้าใจว่า Pattern นั้นคืออะไร แล้วไปตรวจสอบว่ารูปไหนคือสิ่งที่เราต้องการ ในการจะค้นหาข้อมูลที่เป็นเช่นนี้ได้เทคโนโลยีในการตัด clip board ต้องก้าวหน้า พร้อมทั้งต้องมี Platform ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทุกสิ่งทุกอย่างจะเชื่อมโยงถึงกันหมด ข้อมูลจะถูกเชื่อมโยงแบบmany to many ซึ่งหมายความว่าเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย (Network) คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการอ่านและมองเห็นกันมากขึ้น และการมองเห็นนั้นไม่ใช่ผู้คนที่เป็นผู้ใช้ทั่วไป แต่เป็นผู้ชมที่เป็นเว็บเข้ามาศึกษาและหาข้อมูลแทนผู้ใช้ เพื่อนำไปเสนอกับผู้ใช้ต่อไปตัวอย่างเช่น บอกว่าอยากไปเที่ยวภูเขาไฟฟูจิ เว็บก็จะ Link ข้อมูลทั้งหมดออกมา ทั้งสายการบิน แพ็กเกจไหนที่ดีที่สุด โรงแรมที่พักต่างๆ อาจรวมถึงความคิดเห็นต่อสถานที่ท่องเที่ยวนั้น หรือที่พักมาให้ด้วย ขณะเดียวกันก็จะเช็คเลยว่าตรงกับตารางเวลาว่างไหม ช่วงไหนที่ควรจะไปเที่ยว ขณะเดียวกันมันก็จะเช็คตารางของเรากับตารางของเพื่อนที่ญี่ปุ่นใน Social Network ว่าว่างช่วงไหนเพื่อจะนัดมาทานข้าวกันได้
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าทุกอย่างจะถูกเชื่อมโยงเข้าหากันหมด ในส่วนข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันก็จะถูกดึงขึ้นมา ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้ใช้งาน และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ตรงจุดมากยิ่ง

เครดิต http://stks.or.th/th/knowledge-bank/30-web-internet/750-web-tec.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น