วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การโจมตีซอฟเเวร์

 การโจมตีซอฟต์แวร์ (Deliberate Software Attacks) 
หมายถึง เกิดขึ้นโดยการออกแบบซอฟต์แวร์ให้โจมตีระบบจากคนๆ เดียวหรือจากกลุ่มคนมีซอฟต์แวร์ที่ก่อความเสียหาย ทำลาย หรือ ปฏิเสธการบริการของระบบเป้าหมายซอพต์แวร์ที่ได้รับความนิยมคือ Malicious Code หรือ Malicious Software มักจะเรียกว่า มัลแวร์(Malware) มีมากมาย อาทิ ไวรัส (Viruses) เวิร์ม(Worms) ม้าโทรจัน (Trojan Horses) Logic bombs และ ประตูหลัง (Back doors) เรื่องราวของการโจมตีซอฟท์แวร์ที่โด่งดังโดยเฉพาะผลกระทบของ Malicious Code โดยใช้วิธีโจมตีระบบจนทำให้เครื่องไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติ (Denial-of-Service) โดยMafiaboy บนWeb site Amazon.com, CNN.com, Etrade.com, ebay.com, Yahoo.com, Excite.com, และDell.com โดยใช้เวลาในการโจมตีประมาณ4 ชั่วโมง มีรายงานว่าความเสียหายทำให้สูญเสียรายได้ล้านดอลลาร์ ต่อไปจะเป็นการอธิบายถึงภัยคุกคามจากมัลแวร์ ประกอบด้วย
มัลแวร์ Malware คือ ถูกออกแบบเพื่อสร้างความเสียหาย ทำลาย หรือระงับการให้บริการของระบบเป้าหมาย มีหลายชนิด เช่น virus worm, Zombie, Trojan Horse, Logic Bomb, Back door


ไวรัส คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูล ไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกันการที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรมๆ หนึ่ง การที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้น ยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัสแต่ละตัว ปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ัตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัส ขึ้นมาทำงานแล้วจุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแสดงข้อความวิ่งไปมาบนหน้าจอ เป็นต้น

                                             

Worm (หนอน) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถแพร่กระจายตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยอาศัยระบบเน็ตเวิร์ค (E-mail) ซึ่งการแพร่กระจายสามารถทำได้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งจะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและทำความเสียหายรุนแรงกว่าไวรัสมาก



Trojan Horse (ม้าโทรจัน)
โทรจันฮอร์สจะแฝงตัวมากับซอฟต์แวร์ จะทำงานเมื่อผู้ใช้รันซอฟต์แวร์ แล้วโทรจันฮอร์สจะทำลายระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เมื่อเรียกไฟล์ .exe ที่มากับแชร์แวร์ หรือ ฟรีแวร์รูปแสดงตัวอย่างสรุปการโจมตีของโทรจันฮอร์ส ประมาณ 20 มกราคม 1999 เริ่มจากผู้ใช้ได้รับอีเมล์ที่มีโปรแกรมโทรจันฮอร์สแนบมาชื่อ Happy99.exe เมื่อเปิดอีเมล์และติดตัง้ โปรแกรมโทรจันฮอร์สที่แฝงมาจะก่อกวนระบบทันที เช่น ลบไฟล์ หรือ สร้างแบ็คดอร์ให้แฮคเกอร์เข้ามาขโมยข้อมูลลบไฟล์ต่างๆในระบบได้

                                                  

Back Door or Trap Door (ประตูหลัง)
Back door หรือ Trap door เป็นสิ่งที่โปรแกรมเมอร์ได้สร้างไว้และรู้กันเฉพาะกลุ่มสำหรับการเข้าไปแก้ไขระบบ ซึ่งเป็นช่องโหว่ให้แฮคเกอร์เข้ามาในระบบและมีสิทธิพิเศษในการแก้ไขสิ่งต่างๆตัวอย่าง ประเภทของback door มี Subseven และ Back Orifice

                                           

Polymorphism (โพลีมอร์ฟิก)
Polymorphism เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาให้มีความยากในการตรวจจับ อาจจะใช้เวลาหลายวันในการสร้างโปรแกรมตรวจจับ เพื่อจัดการกับ polymorphism เพราะมันใช้เทคนิคการซ่อนลักษณะเฉพาะที่สำคัญ (signatures) ไม่ให้คงรูปเดิม เพื่อหลีกจากการตรวจจับของโปรแกรมแอนตี้ไวรัส
                                                        

ข่าวไวรัสหลอกลวง (Hoax) เป็นรูปแบบหนึ่งที่มีผลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมาก โดยไวรัสหลอกลวงพวกนี้จะมาในรูปของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การส่งข้อความต่อๆกันไปผ่านทางโปรแกรมรับส่งข้อความ หรือห้องสนทนาต่างๆ ซึ่งสามารถสร้างความวุ่นวายให้เกิดขึ้นได้มากหรือน้อยเพียงใด ก็ขึ้นกับเทคนิค และการใช้จิตวิทยาของผู้สร้างข่าวขึ้นมา โดยส่วนใหญ่จดหมายประเภทนี้จะมีหัวข้อที่ชวนเชื่อ อ้างแหล่งข้อมูล และบริษัทใหญ่ๆเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และเมื่อผู้รับส่งต่อไปยังเพื่อนสนิท และคนคุ้นเคย ก็ยิ่งสร้างความเชื่อมั่นมากขึ้น จากนั้นผู้รับก็จะทำตัวเป็นผู้ส่งต่อๆ ไปอีกหลายๆทอด ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของไวรัสหลอกลวง หากได้รับจดหมายประเภทนี้ก็ไม่ควรที่จะส่งไปต่อๆ หรือควรเช็คจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องก่อนทำการส่งต่อไป

                             

เครดิต : http://forlawer.com/-----------------virus-and-worm-hoaxes.html

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

Creative Commons

Creative Commons

ไม่ว่างานชิ้นใดที่ได้รับการสร้างสรรค์ ล้วนแต่ได้รับความคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญหา สำหรับงานชิ้นใดๆ ที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ต่างก็ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในการผลิต จัดทำ เผยแพร่ ในตัวของมันเองอยู่แล้ว เรามาทำความรู้จักกับสัญญาอนุญาต Creative Commons (ครีเอทีฟคอมมอนส์) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไรที่สนับสนุนการสร้างและนำสื่อกลับมาใช้ โดยไม่ถูกจำกัดจากลิขสิทธิ์ โดยสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ เอื้อประโยชน์ให้กับผู้สร้างสรรค์งานสามารถกำหนดได้อย่างชัดเจนว่า จะให้ผู้นำไปใช้ต่อทำอะไรได้บ้าง โดยไม่ต้องขออนุญาต





สัญญาอนุญาต Creative Commons (ครีเอทีฟคอมมอนส์) จะช่วยลดความยุ่งยากในการขออนุญาตลง เพราะหากเป็นงานเพลง บทความ ที่มีผู้ขอไปใช้เยอะมากๆ แทนที่จะขออนุญาตเป็นรายๆไป ก็สามารถนำไปใช้โดยอ้างอิงตามที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้กำหนดไว้

ลองนึกภาพดูว่า ลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด ทันทีที่มีการผลิต สร้างสรรค์งานใดๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปิน ช่างภาพ นักเขียน นักดนตรี ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานออกมา หรือแม้แต่บทความในเว็บไซต์นี้ ต่างก็อยากจะให้คนอื่นนำผลงานไปเผยแพร่ต่อ โดยไม่มีการแก้ไข ดัดแปลง หรือนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ อย่างเช่น บทความในเว็บไซต์ต่างๆ อาจกำหนดให้ผู้อื่นสามารถนำไปใช้งาน หรือเผยแพร่ต่อได้โดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มา ชื่อผู้เขียน แต่ไม่ให้ทำการแก้ไข ดัดแปลง และไม่ให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เรียกได้ว่า คุณมีเสรีภาพที่จะแบ่งปัน ทำสำเนา แจกจ่าย และส่งงานเผยแพร่ต่อไปได้โดยที่ไม่ทำการแก้ไข ดัดแปลง ตัดทอน เนื้อหาใดๆ และไม่นำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า ภายใต้สัญญาอนุญาตสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แต่หากคุณต้องการที่จะเรียบเรียงใหม่ ดัดแปลง หรือนำไปใช้ในทางการค้า จะต้องมีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษณ์ก่อน

สัญญาอนุญาต Creative Commons ทำหน้าที่เป็นใบอนุญาตลิขสิทธิ์ผลงาน ที่เป็นมาตราฐาน ให้สามารถนำไปใช้อย่างเปิดเผย กับผลงานใดๆ ตามเงื่อนไขที่เจ้าของผู้ผลิตผลงานชิ้นนั้นๆไดักำหนดไว้ และเรายังสามารถกำหนดขอบเขตของลิขสิทธิ์ผลงานเราได้ จาก “all rights reserved” เป็น “some rights reserved” เพื่อระบุขอบเขตของลิขสิทธิ์ว่า สงวนลิขสิทธิ์ทั้งหมด หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดของชิ้นงาน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ไม่ได้เป็นตัวเลือกของการคุ้มครองลิขสิทธิ์แบบ copyright แต่ทำงานร่วมกันเพื่อเปิดโอกาสและยืดหยุ่นให้ปรับข้อกำหนดและเงื่อนไขของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในแต่ละชิ้นงานได้เอง รายละเอียด Creative Commons

Creative Commons Thailand

                                   

หลายคนคงสงสัยว่า สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons license) คืออะไร มันคือข้อตกลงที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์งานสามารถแชร์ผลงานกับผู้อื่นได้ยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งชิ้นงานดังกล่าวอาจถูกนำไปต่อยอดได้โดยไม่ต้องแจ้งขออนุญาตเจ้าของงานก่อน

ครีเอทีฟคอมมอนส์ เป็นหนึ่งในความพยายามเพื่อเผยแพร่งานสร้างสรรค์ด้วยการ สงวนสิทธิ์บางประการ (Some rights reserved) มากกว่าจะต้องยึดติดกับการสงวนสิทธิ์ทั้งหมด (All rights reserved) เพราะแบบหลังนี่บางครั้งทำให้เกิดข้อจำกัดในการเผยแพร่งานได้ เช่นที่เรามักเห็นตามเว็บไซต์หลายๆ แห่งเขียนประมาณว่า
“สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ห้ามทำซ้า เผยแพร่ จัดแสดง หรือดัดแปลง

โดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร…”
ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว มีความรู้อยู่มากมายในโลกอินเทอร์เน็ต ที่สมควรแก่การแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด ดีกว่าเก็บเอาไว้ไม่มีใครรับรู้ ไม่มีใครเห็น ดังนั้นการนำ ครีเอทีฟคอมมอนส์ มาใช้ จึงดูเป็นทางออกที่น่าสนใจและแน่นอนว่าตัวเจ้าของงานก็ยังมีสิทธิ์ในชิ้นงานของตนเช่นเดิม ไม่จำเป็นต้องยกให้เป็นสาธารณะสมบัติ (Public Domain) หมดเสียทีเดียว

งานสร้างสรรค์ที่ใช้ ครีเอทีฟคอมมอนส์ ก็มีอยู่อย่างมากมายเช่น ภาพถ่าย, เพลง, บทความ, คลิปวิดีโอ ฯลฯ เป็นการส่งเสริม “วัฒนธรรมเสรี” หรือ Free Culture ที่ทุกคนแบ่งปันกัน มากกว่าเน้นเชิงพาณิชย์แล้วลงเอยด้วยการที่ต้องนำกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญามาบังคับใช้ ซึ่งน่ายินดีว่า ครีเอทีฟคอมมอนส์ มีเวอร์ชั่นภาษาไทยอย่างเป็นทางการแล้ว

สัญลักษณ์ Creative Commons


การสร้างไฟล์ Creative Commons

      สร้างไฟล์ภาพสำหรับเว็บด้วย Paint
- โปรแกรม Paint เป็นโปรแกรมมาตรฐานของ Windows ทุกรุ่น โดยเฉพาะ Windows 98 เป็นต้นไป ได้เพิ่มความสามารถในการจัดเก็บไฟล์ (Save) ในฟอร์แมต .GIF และ .JPG ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกที่สะดวกในการสร้างไฟล์กราฟิกสำหรับเว็บแบบง่ายๆ และรวดเร็ว โดยมีตัวอย่างการสร้างงานดังนี้
เปิดโปรแกรมที่ต้องการนำภาพมาใช้งาน เช่น Microsoft Word, Excel หรือ PowerPoint
ปรับแต่งรูปภาพตามต้องการ เช่น ย่อขนาด



- คลิกเลือกภาพ แล้วเลือกเมนูคำสั่ง Edit, Copy (แก้ไข, คัดลอก) เพื่อบันทึกรูปภาพไว้ในหน่วยความจำ
เรียกใช้โปรแกรม Paint โดยคลิกปุ่ม Start จากแถบสั่งงาน แล้วเลือกรายการ Program, Accessories, Paint
เมื่อปรากฏหน้าจอโปรแกรม Paint ให้ใช้เมนูคำสั่ง Image, Attribute เพื่อตั้งค่าพื้นที่ทำงานให้มีขนาดเล็ก เช่นขนาด 100 x 100 Pixels






- จากนั้นเลือกเมนูคำสั่ง Edit, Paste เพื่อวางภาพลงในโปรแกรม ถ้าโปรแกรมปรากฏหน้าต่างสอบถามการวาง ให้คลิกปุ่ม Yes





จากนั้นเลือกเมนูคำสั่ง File, Save (หรือ File, Save As..) ตั้งชื่อไฟล์, ไดร์ฟ และเลือกรูปแบบของภาพเป็น .GIF หรือ .JPG ตามที่ต้องการ

เว็บที่ใช้ Creative Commons


ที่มา : http://yadfonfoundation.org/2012/09/06/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%9D%E0%B8%99-%E0%B8%88/